หน่วยที่ 4 การเขียนโปรแกรมประเมินผลลัพธ์กิจกรรม

การควบคุมแบบทางเลือก
การควบคุมแบบทางเลือก (Selection or Decision) หรืออาจเรียกว่า “เงื่อนไขกรณี” นั้น ใช้เพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติมีเหตุการณ์ให้เลือกกระทำ 2 กระบวนการ ได้แก่ ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นจริง ก็กระทำกระบวนการหนึ่งและถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จ ก็กระทำอีกกระบวนการหนึ่ง สำหรับเงื่อนไขใดมีความซับซ้อน ต้องตรวจสอบเงื่อนไขหลาย ๆ ชั้น จนกว่าจะกระทำตามกระบวนอย่างครอบคลุมทุกกรณีตามที่ผู้ใช้งานต้องการ เช่น การคำนวณเกรดนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น ลักษณะการปฏิบัติงานแบบทางเลือกได้แก่ คำสั่ง If
คำสั่ง If (If Statement)
สำหรับการควบคุมแบบนี้มีใช้อยู่ 3 กรณีด้วยกัน ได้แก่
  1. แบบทางเลือกเดียว
  2. แบบสองทางเลือก
  3. แบบหลายทางเลือก
แบบทางเลือกเดียว
แบบทางเลือกเดียว (One Option) เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจว่าจะกระทำคำสั่งหรือไม่กระทำคำสั่งที่อยู่หลังเงื่อนไข โดยดูจากผลลัพธ์ของนิพจน์เงื่อนไข (Condition) ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ซึ่งถ้าผลลัพธ์ของนิพจน์เงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำคำสั่งที่อยู่หลังเงื่อนไข แต่ถ้าผลลัพธ์ของนิพจน์เงื่อนไขเป็นเท็จจะไม่กระทำคำสั่งใด ๆ ทั้งสิ้น โดยอาจมีการคำนวณอย่างอื่นก่อนหรือให้สิ้นสุดการปฏิบัติงานเลยก็เป็นไปได้ ดังรูปแบบนี้
แบบสองทางเลือก
แบบสองทางเลือก (Two Option) เมื่อต้องการให้โปรแกรมปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของนิพจน์จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงหรือเท็จ โดยเมื่อผลลัพธ์ของนิพจน์ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง จะทำตามประโยคคำสั่งที่อยู่หลังเงื่อนไขและถ้าผลลัพธ์ของนิพจน์เงื่อนไขเป็นเท็จ จะทำตามประโยคคำสั่งหลัง Else ดังรูปแบบนี้

รู้จักกับคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ สามารถรับข้อมูลและคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและ คำสั่งนั้นไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ ต้องการและแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึก รายการต่างๆไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง

ข้อสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4